ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าฯ พ.ย.เพิ่มทุกภาครับเปิดประเทศ-ติดเชื้อลด จับตาโอไมครอนหวั่นล็อกดาวน์อีกรอบ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนพ.ย.64 (TCC-CI) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 22-26 พ.ย.64 โดยดัชนีฯอยู่ที่ระดับ 28.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 19.9 ในเดือนต.ค.64

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีฯ อยู่ที่ 27.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ 19.5, ภาคกลาง ดัชนีฯ อยู่ที่ 28.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ 20.8, ภาคตะวันออก ดัชนีฯ อยู่ที่ 32.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ 23.8, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 28.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ 20.1, ภาคเหนือ ดัชนีฯอยู่ที่ 27.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ 19.4 และภาคใต้ ดัชนีฯ อยู่ที่ 25.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ 17.1

โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้หอการค้าไทยเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้นทุกรายการ มาจากการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์เพื่อเป็นการรองรับมาตรการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.64 เป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ (ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ) เข้ามาประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว และจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจำนวนผู้ฉีดวัคซีนในประเทศเป็นไปตามแผนที่วางไว้

นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี ด้านการส่งออกของไทยเดือนต.ค. 64 ขยายตัว 17.35% มูลค่าอยู่ที่ 22,738.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัว 34.64% มีมูลค่าอยู่ที่ 23,108.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 370.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดีโดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง และเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อย จากระดับ 33.037 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน ก.ย.64 เป็น 33.482 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน ต.ค.64

ส่วนปัจจัยลบ มาจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ถึงแม้จำนวนยอดติดเชื้อจะลดลง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอนาคตหากสายพันธุ์โอไมครอนเข้ามาในประเทศ,ความกังวลเกี่ยวกับการกลับมาล็อกดาวน์ หากมีการแพร่ระบาดของโอไมครอน,ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร

นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยไตรมาสที่ 3/64 ติดลบ 0.3% โดยคาดว่าจีดีพี ปี 64 จะขยายตัวได้ 1.2%, ความกังวลเสถียรภาพทางการเมือง และสถานการณ์ทางด้านการเมือง ตลอดจนการชุมนุมทางการเมือง และความกังวลด้านสภาพคล่องในการเปิดดำเนินกิจการของธุรกิจ หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการบางส่วน อีกทั้งผู้ประกอบการยังรู้สึกว่ารายได้จากการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่ปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐดังนี้ 1.กระตุ้นเศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยวของประเทศ ให้กลับมาคึกคักในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวสิ้นปี 2.มาตรการรับมือและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ หากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนระบาด 3.เร่งการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการใช้จ่ายของประชาชนภายในประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางออกต่างจังหวัดในรูปแบบที่ปลอดภัยช่วงเทศกาล4.ต้องการให้รัฐดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในการเปิดกิจการและมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นจากมาตรการสาธารณสุข 5.มาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการมาอย่างยาวนาน