ธปท.ไม่ต่อมาตรการ LTV ปิดความเสี่ยงสกัดหนี้ครัวเรือน-เก็งกำไรอสังหาฯ

ธปท.ไม่ต่ออายุมาตรการ LTV ที่หมดอายุ 31 ธ.ค.65 ปิดความเสี่ยง สกัดหนี้ครัวเรือน เก็งกำไรภาคอสังหา และเศรษฐกิจฟื้นตัวดี ภาคอสังหาฯ ปรับตัวดีขึ้น เศรษฐกิจไม่กระทบผู้มีรายได้น้อย ยันไม่พบสัญญาณผิดปกติตัวเลข NPL และฟองสบู่ภาคอสังหาฯ

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่ต่อมาตาการการผ่อนคลาย LTV เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องจาก 1.เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนและทั่วถึงมากขึ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่องทั้งอถปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการจ้างงานในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องทยอยปรับดีขึ้น

2.การสิ้นสุดการผ่อนคลายมาตรการ LTV ไม่เป็นอุปสรรคต่อการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากเกือบทั้งหมดกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกที่มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งมาตรการ LTV ปัจจุบันสาหรับซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาทผ่อนคลายมากอยู่แล้ว (กำหนดไว้ที่ 100% แล้ว)

3.การขยายระยะเวลาการผ่อนคลายมาตรการอาจเอื้อให้เกิดการสะสมความเสี่ยงในระบบการเงินในระยะต่อไปได้ เช่น การเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์โดยผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง และส่งผลต่อระดับหนี้ครัวเรือนใหเ้พิ่มสูงขึ้นในอนาคต

สำหรับภาคอสังหาฯ ช่วง 8 เดือนของปี 65 มีการโอนขยายตัว 8.5% มีโครงการขึ้นมาใหม่เฉลี่ย 9,000 หน่วยต่อเดือน ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 เฉลี่ย 9,300 หน่วยต่อเดือน เท่าที่ได้ดูตัวเลขและอัตราการขยายตัวส่วนใหญ่เป็นบ้านราคาสูง ที่กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อมากกว่า เขื่อว่าการไม่ต่อมาตรการ LTV ดังกล่าวจะมีผลต่อความเชื่อมั่นจากนักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลประกอบการอย่างต่อเนื่อง และไม่มีสัญญาณผิดปกติอะไรเกี่ยวกับตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ธปท.มองว่าสถานการณ์เริ่มทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จึงมีการป้องกันดูแลหนี้ภาคครัวเรือนไม่ให้สูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

“ที่ผ่านมา ธปท.ผ่อนคลายมาตรการในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 (เม.ย.64) กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ฐานะการเงินของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนยังเปราะบาง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพยุงการจ้างงานเพิ่มเติม เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ” ผู้ช่วยผู้ว่าการกล่าว

ธปท. จึงผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราว เพื่อเติมเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก โดยการเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อที่อยู่อาศัยให้กลุ่มผู้ที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่มากนัก และมีความสามารถรองรับการก่อหนี้เพิ่มได้