FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นยังอยู่ในเกณฑ์ร้อนแรง นักลงทุนคาดหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว

FETCO เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 129.53 ปรับตัวลดลง 4.2% จากเดือนก่อนหน้าและยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง (Bullish)” นักลงทุนคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ “โอมิครอน-ความขัดแย้งระหว่างประเทศ-เฟด”ฉุดความเชื่อมั่น

วันที่ 6 มกราคม 2565 นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือน ธ.ค. 2564 พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน” ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 129.53 ปรับตัวลดลง 4.2% จากเดือนก่อนหน้าและยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง (Bullish)”

โดยนักลงทุนยังคงคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือการไหลเข้าของเงินทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ความกังวลต่อสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รองลงมาคือสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศและผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

“ผลสำรวจ ณ เดือนธันวาคม 2564 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนบุคคลปรับลด 5.8% อยู่ที่ระดับ 127.63 และกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 19% อยู่ที่ระดับ 121.43 ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนต่างชาติทรงตัวอยู่ที่ระดับ 100.00 และ 140.00 ตามลำดับ” นายไพบูลย์กล่าว

ขณะที่ในเดือน ธ.ค. 2564 ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,588.19—1,657.62 จุด โดยมีปัจจัยในประเทศที่กระทบการเคลื่อนไหวของดัชนี ได้แก่ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และกระทรวงการคลังประกาศทบทวนการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น​ หรือ​ Financial Transaction ​Tax ในอัตรา 0.1% สำหรับมูลค่าธุรกรรมฝั่งขาย โดย SET index ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2564 ปิดที่ 1,657.62 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.7% จากเดือนก่อนหน้า และปรับขึ้น 14.4% จากสิ้นปี 2563

สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ ผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ รวมถึงสงครามการค้าจีน-สหรัฐ หลังจากสหรัฐมีการผ่านกฎหมายแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานจากจีน โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี

อีกทั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐสั่งให้บริษัทจีนเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐส่งผลให้บริษัทจีนมีความเสี่ยงเรื่องการถูกถอดออกจากตลาดหุ้นสหรัฐสูงขึ้น ผลจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายประเทศเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อาทิ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.1% เป็น 0.25% ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะลดขนาดของมาตรการ QE เป็นเดือนละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ พร้อมกับส่งสัญญาณว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 ถึง 3 ครั้ง ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศลดวงเงินซื้อพันธบัตร พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ทั้งนี้ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ การรับมือของภาครัฐต่อสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐแทนมาตรการเดิมที่หมดไป และการประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน